Sunday, August 16, 2009

Economic , social and cultural in commitment of international human right












http://www.aspirationlaw.net/

http://www.aspirationlaw.com/

http://www.nhrc.or.th/menu_content.php?doc_id=29
http://203.113.25.102/webdoc/ICESCR.pdf
http://www.oknation.net/blog/YPD/2007/09/15/entry-1
http://www.knowyourrights2008.org/index.php?nav=facts&rub=treaty
http://ecx.images-amazon.com/images/I/41P5G7qff2L._SL500_AA240_.jpg
http://www.justice.gov.uk/publications/fifthperiodicreport270707.htm

http://www.ohchr.org/EN/NewsEvents/Pages/OP_ICESCR.aspx



thailand blueprint for commitment or agreement of human right inside scope of social economy cultural zone..
many database and statistic...for base of right protect by law ....perfect for future...may expert in CDD can help???
our grassroot still loss of right to protect thier benefit under no way out about right protect...
maybe you know how to help them to empower thier group by theketing or creative manufacturing...m selves...or make fund and net work of money to create thier local product by high profit under nice conservative culture and can live and reserve thir culture back ground...still....not only money in economic power to make dicision about market or creative manufacturing...
how we use law to protect our grassroot...brainstorming under attorney general leader organize this tuesday 18 august 2009...


sugar and human right protect by law...and poverty reduction protect right..

ข้อมูลที่น่าสนใจมีเรื่องอดีตที่ต้องพัฒนาเป็นปัจจุบัน POVERTY ALLEGATE FOR NEXT BETTER HUMAN RIGHT..
146. ในการดำเนินนโยบายและมาตรการเพื่อแก้ปัญหาความยากจนและความมั่นคงด้านอาหารสำหรับประชาชนทุกกลุ่มทั่วราชอาณาจักร ประเทศไทยได้ยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำรัสชี้แนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยทุกระดับมาโดยตลอด กว่า 50 ปี ความพอเพียงหมายถึง ความพอประมาณ มีเหตุมีผลรวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันที่ดีพอสมควรต่อการมีผลกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ทั้งนี้ต้องอาศัยความรอบคอบและความระมัดระวังในการนำวิชาการต่างๆ มาใช้ในการ วางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอน และขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจ เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้แนะการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนทุกระดับตั้งแต่ระดับ ครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ แนวทางการนำปรัชญาเศรษฐกิจไปใช้ประโยชน์ในแต่ละระดับสามารถปฏิบัติได้โดย (1) ระดับบุคคล/ครอบครัว ต้องรู้จักคำว่าพอและไม่เบียดเบียนผู้อื่น ยึดความประหยัด พยายามพัฒนาตนเองเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งและความชำนาญ ประกอบอาชีพด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ยึดหลักทางสายกลาง สามารถให้ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน ทั้งในด้านจิตใจ สังคม เทคโนโลยี ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และด้านเศรษฐกิจ ( 2) ระดับชุมชน ต้องมีความพอเพียงและรวมกลุ่มทำประโยชน์เพื่อส่วนรวมโดยอาศัย ภูมิปัญญาและความสามารถของตนและชุมชนพึ่งตนเองทางเศรษฐกิจ และนำส่วนเกินเข้าร่วมกับการพัฒนาเศรษฐกิจของชาติ ซึ่งปัจจุบันนี้มีแนวทางที่ผู้นำชุมชนเรียกว่า “เกษตรอินทรีย์วิถีชุมชน” เป็นแนวทางรูปธรรมที่ขยายตัวในพื้นที่ชุมชนทั่วประเทศ พึ่งตนเองด้านทรัพยากรธรรมชาติ โดยพัฒนาศักยภาพของคน ค้นหาทรัพยากรในชุมชนท้องถิ่น เพื่อพัฒนาให้เกิดประโยชน์สูงสุดบนฐานความรู้ ภูมิปัญญาของชุมชนท้องถิ่นนั้น (3) ระดับรัฐหรือระดับประเทศ ตั้งแต่ปี 2545 รัฐบาลได้มีการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงอย่างเป็นรูปธรรม โดยแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545-2549) ได้อัญเชิญปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นปรัชญานำทางในการพัฒนาและบริหารประเทศ และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550-2554)ได้กำหนดวิสัยทัศน์และพันธกิจของประเทศไทยให้พัฒนาสู่ ”สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน” โดยมียุทธศาสตร์การพัฒนาที่สำคัญ คือยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพคนและสังคมไทยสู่สังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ ยุทธศาสตร์การสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและสังคมให้เป็นรากฐานที่มั่นคงของประเทศ ยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจให้สมดุลและยั่งยืน ยุทธศาสตร์การพัฒนาบนฐานความหลากหลายทางชีวภาพและการสร้างความมั่นคงของฐานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และยุทธศาสตร์การเสริมสร้าง ธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการประเทศ
147. กล่าวโดยรวมแล้ว หลักเศรษฐกิจพอเพียง ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ซึ่งได้รับการยอมรับจากองค์การสหประชาชาติโดยได้เผยแพร่ไปยังประเทศกำลังพัฒนาหลายประเทศทั่วโลก จึงเป็นทางออกที่จะสามารถแก้ ปัญหาความยากจนและวิกฤตความมั่นคงทางอาหารของโลก ประเทศไทยถือว่ายังเป็นประเทศสำคัญในการผลิตและส่งออกอาหารของโลก แม้จะยังมีปัญหาภายในไม่ว่าจะปัญหาความอดอยาก ฐานะทางเศรษฐกิจ การเมือง เทคโนโลยีการพัฒนาการผลิต ฯลฯ แต่ด้วยความที่ประเทศไทยมีความพร้อมในการผลิตอาหารและวัตถุดิบที่จำเป็น ประเทศไทยจึงมีบทบาทสำคัญไม่มากก็น้อยในการเป็นส่วนหนึ่งของการแก้ไขวิกฤตการณ์อาหารโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกษตรกรไทยก็มีความชำนาญ และความรู้ในการทำการเกษตรกรรมเป็นอย่างดี หากได้รับการพัฒนาความรู้เพิ่มเติม รวมทั้งได้รับการพัฒนาเทคโนโลยีที่ช่วยเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรแล้วก็น่าจะทำให้ประเทศไทยเป็นแหล่งอาหารสำคัญของโลกได้ไม่ยากนัก
148. ประเด็นเรื่องคุณภาพอาหารและการเข้าถึงของประชาชน รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันกำหนดให้เป็นหน้าที่ของรัฐที่จะต้องจัดให้มีสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานอันจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของประชาชน (มาตรา 84 (10)) ซึ่งหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนได้พยายามดำเนินการโดยรณรงค์ทางใช้สื่อต่างๆ เช่น วิทยุ โทรทัศน์ และสื่อสิ่งพิมพ์ เพื่อให้ประชาชนรู้ถึงประเภทอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ปริมาณอาหารที่ควรรับประทานในแต่ละช่วงอายุ อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง เช่น การใช้สามเหลี่ยมโภชนาการ เป็นต้น นอกจากนั้นรัฐบาลยังส่งเสริมการให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดการให้เกิดความปลอดภัยในการผลิตอาหาร โดยได้กำหนดแนวทางการเผยแพร่องค์ความรู้เรื่องความปลอดภัยด้านอาหารให้ประชาชนทราบและแก้ไขอย่างเร่งด่วน เช่น การเรียนรู้โดยผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (e-learning ) ควบคู่กับการฝึกปฏิบัติจริง นอกจากนั้น ยังใช้สื่อสารมวลชนต่างๆ ในการให้ความรู้พื้นฐานเรื่องความปลอดภัยด้านอาหาร ทั้งเรื่องความเป็นพิษของสารปนเปื้อนในอาหารที่ก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพผู้บริโภค การควบคุมและจัดการไม่ให้อาหารที่ผลิตเกิดการปนเปื้อน ของสารอันตรายต่างๆ ในระดับที่ไม่ปลอดภัยต่อการบริโภค อันจะเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาด้านความไม่ปลอดภัยของผลิตภัณฑ์อาหารได้อีกแนวทางหนึ่ง สำหรับเรื่องปริมาณอาหารที่พอเพียงนั้น ข้าวถือเป็นอาหารหลักที่ขาดมิได้ ประเทศไทยมีกรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่รับผิดชอบโดยตรงในเรื่องการจัดทำยุทธศาสตร์ การพัฒนา การผลิตและการแปรรูปข้าว นอกจากนั้นรัฐบาลยังได้จัดตั้งสถาบันอาหาร กระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อส่งเสริมการแข่งขันของอุตสาหกรรมอาหารและดูแลด้านความปลอดภัยของอาหารที่ผลิตเป็นอุตสาหกรรม



2. กรอบ/แนวทางพื้นฐานของประเทศเพื่อการคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิมนุษยชน
2.1 การยอมรับมาตรฐานระหว่างประเทศ*
ประเทศไทยยอมรับมาตรฐานระหว่างประเทศเพื่อการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนโดยการภาคยานุวัติเข้าเป็นภาคีของสนธิสัญญาหลักด้านสิทธิมนุษยชนแล้วรวม 7 ฉบับ จากสนธิสัญญาหลัก 9 ฉบับ มีอนุสัญญาและกติการะหว่างประเทศ ซึ่งมีผลบังคับใช้กับประเทศไทยตามลำดับ
การเข้าเป็นภาคี ดังนี้
1. อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ (Convention on the Elimination of All Forms of Discrimination against Women-CEDAW) 8 กันยายน 2528
มีข้อสงวน 7 ข้อ คือ ข้อ 7. ความเสมอภาคทางการเมืองและตำแหน่งราชการ 9. การถือสัญชาติของบุตร 10. ความเสมอภาคทางการศึกษา 11. สิทธิโอกาสที่จะได้รับการจ้างงาน 15. การทำนิติกรรม 16. การสมรสและความสัมพันธ์ทางครอบครัว และ 29. การระงับข้อพิพาทระหว่างรัฐภาคี ซึ่งได้ถอนขอสงวนไปแล้ว 5 ข้อ ปัจจุบันยังคงอยู่ 2 ข้อ คือ ข้อ 16 และ 29
2. อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก (Convention on the Rights of the Child-CRC) 26 เมษายน 2535
มีข้อสงวน 3 ข้อ คือ ข้อ 7. เกี่ยวกับการจดทะเบียนเกิดและการได้สัญชาติของเด็ก 22. การร้องขอสถานะผู้ลี้ภัยของเด็ก และ 29. การจัดการศึกษาสำหรับเด็ก ซึ่งต่อมาได้ถอนข้อสงวนที่ 29 ปัจจุบันจึงยังคงอยู่ 2 ข้อ คือ ข้อ 7 และ 22
3. กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights – ICCPR) 30 มกราคม 2540
ไม่มีข้อสงวนแต่มีถ้อยแถลงตีความ 4 ประเด็น สำหรับข้อ 1. เกี่ยวกับสิทธิในการกำหนดเจตจำนงของตนเอง 6. โทษประหารชีวิตเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปีที่กระทำผิด 9. การนำตัวผู้ต้องหาเข้าสู่การพิจารณาคดีโดยพลันและ 20. ห้ามการโฆษณาชวนเชื่อเพื่อการทำสงคราม ปัจจุบันยังคงอยู่ทั้ง 4 ประเด็น
4. กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (International Covenant on Economic, Social and Cultural Rights – ICESCR) 5 ธันวาคม 2542
มีถ้อยแถลงตีความสำหรับข้อ 1 เกี่ยวกับสิทธิในการกำหนดเจตจำนงของตนเอง ปัจจุบันยังคงอยู่5. อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ (International Convention on the Elimination of All Forms of Racial Discrimination – CERD) 27 กุมภาพันธ์ 2546
มีถ้อยแถลงตีความทั่วไปว่ารัฐบาลไทยจะไม่รับพันธกรณีเกินข้อบัญญัติของรัฐธรรมนูญและกฎหมาย


* ข้อมูล ณ วันที่ 31 สิงหาคม 2551
ภายใน และมีข้อสงวน 2 ข้อ คือ ข้อ 4. เกี่ยวกับการออกมาตรการขจัดการเลือกปฏิบัติในทันทีและ 22.การเสนอข้อพิพาทระหว่างรัฐต่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศเพื่อพิจารณา ประเทศไทยไม่รับผูกพัน
6. อนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการปฏิบัติหรือลงโทษอื่นที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรมหรือย่ำยีศักดิ์ศรี (Convention against Torture and Other Cruel, Inhuman or Degrading Treatment or Punishment - CAT) 1 พฤศจิกายน 2550
มีถ้อยแถลงตีความ 3 ประเด็นและข้อสงวน 1 ข้อ คือ ถ้อยแถลงตีความสำหรับข้อ 1. เกี่ยวกับคำนิยามของ “การทรมาน” ข้อ 4. การกำหนดให้การกระทำการพยายาม การสมรู้ร่วมคิด และมีส่วนร่วมในการกระทำทรมานเป็นความผิดที่ลงโทษได้ตามกฎหมายอาญาและ ข้อ 5. การดำเนินมาตรการเพื่อให้มีเขตอำนาจเหนือความผิดตามข้อ 4 ไทยตีความข้อบัญญัติเหล่านี้ตามประมวลกฎหมายอาญาที่ใช้บังคับในปัจจุบัน และข้อสงวนต่อข้อ 30 คือการเสนอข้อพิพาทระหว่างรัฐไปยังศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ประเทศไทยไม่รับผูกพัน
7. อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิของคนพิการ (Convention of the Rights of Persons with Disabilities)ลงนามเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2550 ซึ่งเป็นวันแรกที่เปิดให้ลงนามและคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2551 ขณะนี้อยู่ในกระบวนการเพื่อให้สัตยาบัน (ข้อมูลตามตารางที่ 7)
นอกจากนี้ ยังได้เข้าเป็นรัฐภาคีของพิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาและสนธิสัญญาระดับรองอีกหลายฉบับ เช่น
- พิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กเรื่องการค้าเด็ก การค้าประเวณีเด็ก และสื่อลามกที่เกี่ยวกับเด็ก (11 มกราคม 2549)
- พิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กเรื่องความเกี่ยวพันของเด็กในความขัดแย้งกันด้วยอาวุธ (27 กุมภาพันธ์ 2549)
- อนุสัญญากรุงเฮกว่าด้วยลักษณะทางแพ่งในการลักพาตัวเด็กข้ามชาติ
(1 พฤศจิกายน 2545)
- อนุสัญญากรุงเฮกว่าด้วยการคุ้มครองเด็กและความร่วมมือในการรับบุตร
บุญธรรมระหว่างประเทศ (1 สิงหาคม 2547)
- อนุสัญญาขององค์การแรงงานระหว่างประเทศฉบับต่าง ๆ 14 ฉบับ ได้แก่ ฉบับที่ 80, 116, 104, 105, 127, 14, 19, 123, 29, 88, 122, 100, 182 และ 138 ซึ่งมีการทะยอยลงนามเข้าเป็นภาคีตามลำดับ โดยล่าสุดคือฉบับที่ 182 ซึ่งเกี่ยวกับการคุ้มครองแรงงานเด็กที่ว่าด้วยรูปแบบที่เลวร้ายที่สุดของการใช้แรงงานเด็ก (กุมภาพันธ์ 2544) และ 138 เกี่ยวกับอายุขั้นต่ำในการจ้างงาน (พฤษภาคม 2548) ตามลำดับ
- ฯลฯ
และกำลังอยู่ระหว่างศึกษาพันธกรณีและความพร้อมของไทย ต่อการเข้าเป็นภาคีของอนุสัญญาว่าด้วยการป้องกันบุคคลจากการหายสาบสูญโดยถูกบังคับ (International Convention for the Protection of All Persons from Enforced Disappearance –CED)
การยอมรับมาตรฐานระหว่างประเทศตามสนธิสัญญาด้านสิทธิมนุษยชนต่าง ๆ ดังกล่าวข้างต้นทำให้เกิดพันธกรณีที่ประเทศไทยในฐานะรัฐภาคีของอนุสัญญาเหล่านั้น ต้องปฏิบัติติดตามมา 4 เรื่องหลัก คือ
- การประกันให้เกิดสิทธิตามสนธิสัญญานั้น
- การดำเนินการให้เกิดสิทธิและคุ้มครองสิทธิในทางปฏิบัติ
- การเผยแพร่หลักการและเนื้อหาของสิทธินั้น ๆ และ
- การจัดทำรายงานผลการดำเนินงานที่จัดให้มีขึ้นเพื่อใช้สิทธิตามสนธิสัญญา
ประเทศไทยได้ดำเนินการตามพันธกรณีของสนธิสัญญาระหว่างประเทศอย่างจริงจังตามพันธกิจที่รับ หลังจากลงนามเข้าเป็นรัฐภาคีของอนุสัญญาด้านสิทธิมนุษยชนฉบับต่าง ๆ สถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยได้พัฒนาขึ้นมาก มีการประกันสิทธิโดยบรรจุหลักการด้านสิทธิมนุษยชนไว้ในรัฐธรรมนูญเป็นเบื้องต้น จัดตั้งองค์กรอิสระเพื่อตรวจสอบและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ทบทวนปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย กฎระเบียบ และออกกฎหมายใหม่เพื่อคุ้มครองสิทธิของประชาชนหลายฉบับ วางยุทธศาสตร์แนวทางแก้ไขเพื่อการคุ้มครองสิทธิด้าน
ต่าง ๆ ทำให้สามารถถอนข้อสงวนได้ส่วนหนึ่ง เช่น ข้อสงวนตามข้อ 29 ของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก และข้อ 7,9,10,11 และข้อ 15 ของอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ มีการเผยแพร่หลักการและเนื้อหาของสนธิสัญญาต่อสาธารณชนด้วยรูปแบบวิธีการที่หลากหลายและกว้างขวาง รวมถึงดำเนินการภารกิจสำคัญคือการจัดทำรายงานผลการดำเนินงานของประเทศเกี่ยวกับการทำให้เกิดสิทธิและความก้าวหน้าในการใช้สิทธิตามอนุสัญญาเหล่านั้น ซึ่งเป็นพันธกรณีที่มีเงื่อนไขระยะเวลากำหนดไว้แน่นอนชัดเจนตามกติกา/อนุสัญญาแต่ละฉบับ รายงานเหล่านี้เป็นกลไกสำคัญในการตรวจสอบและติดตามผลขององค์การสหประชาชาติเช่นเดียวกับเป็นกลไกตรวจสอบติดตามและประเมินตนเอง ประเทศไทยจึงให้ความใส่ใจกับภารกิจเรื่องนี้มาก ดังปรากฏความก้าวหน้าโดยละเอียดในรายงานแต่ละฉบับด้วยกระบวนการจัดทำรายงานที่จะกล่าวต่อไป

4) การส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคมเพื่อให้การส่งเสริมคุ้มครองสิทธิมนุษยชนเป็นไปอย่างกว้างขวาง เป็นแนวทางและภารกิจสำคัญยิ่งที่หน่วยงานรับผิดชอบหลัก เช่น คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กระทรวงยุติธรรม และหน่วยงานภาครัฐอื่น ๆ เร่งรัดดำเนินการอย่างจริงจังทั้งโดยตรงและผ่านเครือข่าย ทั้งในรูปคณะกรรมการและรูปแบบอื่น ๆ ประเทศไทยส่งเสริมเครือข่ายทุกรูปแบบทั้งเครือข่ายร่วมภาครัฐและเอกชน เครือข่ายภาคเอกชน เครือข่ายภาคประชาสังคม และเครือข่ายสื่อมวลชน ซึ่งเครือข่ายเหล่านี้เข้มแข็งอยู่แล้วการส่งเสริมจากภาครัฐทำให้เครือข่ายมีบทบาทเข้มแข็งและขยายออกไปอย่างกว้างขวางยิ่งขึ้นทั้งในประเด็นความสนใจและในพื้นที่ การสนับสนุนการสร้างอาสาสมัคร และส่งเสริมความเข้มแข็งขององค์กรชุมชน ทำให้เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมอย่างเป็นรูปธรรมและมีประสิทธิภาพ เช่น องค์กรภาคประชาสังคมเฝ้าระวังการค้ามนุษย์ในภาคเหนือตอนบน เครือข่ายด้านเด็ก ด้านสตรี ด้านชาติพันธุ์ สมัชชาชนเผ่า ฯลฯ ล้วนเป็นกระบวนการมีส่วนร่วมที่เป็นกำลังสำคัญในการปฏิบัติงานตามแนวทางและวิธีการที่ประเทศไทยให้ความสำคัญอย่างยิ่ง


การพัฒนา มีศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นหน่วยงานรับผิดชอบหลักในการดำเนินโครงการพัฒนาพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของชาวไทยเชื้อสายมลายู นอกจากนี้ ยังมีการสนับสนุนผู้นำศาสนาและผู้นำชุมชนให้สามารถเยียวยาผู้ยากลำบากในพื้นที่ และมีความพยายามแก้ปัญหาว่างงานโดยการส่งเสริมให้มีการยกระดับการจัดทำฮาลานให้เป็นอุตสาหกรรมขนาดย่อมเพื่อการส่งออก

113. พระราชบัญญัติส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมฯ มีสาระสำคัญในการจัดแนวทางการจัดสวัสดิการสังคมตามความจำเป็นและเหมาะสมทั้งในต่างจังหวัดและกรุงเทพมหานคร เช่น การบริการทางสังคม การศึกษา สุขภาพอนามัย ที่อยู่อาศัย การฝึกอบรม การประกอบอาชีพ นันทนาการ และกระบวนการยุติธรรม เป็นต้น โดยการส่งเสริม การพัฒนา การสงเคราะห์ การคุ้มครอง การป้องกัน การแก้ไข และการบำบัดฟื้นฟู นอกจากนั้น มีการแก้ไขเพิ่มเติมในปี พ.ศ. 2550 เพื่อส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมโดยองค์กรภาคประชาชนให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ตอบสนองความต้องการของสมาชิก และเกิดระบบการช่วยเหลือเกื้อกูลในสังคมและชุมชน ตลอดจนการรวมตัวเป็นเครือข่ายการจัดสวัสดิการชุมชนเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงทางสังคม และการพึ่งพาตนเองของชุมชนให้เกิดความเข้มแข็งอย่างทั่วถึง เหมาะสม และเป็นธรรม ทั้งนี้ โดยมีกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เป็นหน่วยงานรับผิดชอบ ซึ่งพระราชบัญญัติส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมฯ เป็นกฎหมายฉบับแรกที่คุ้มครองประชนในสภาวะต่างๆ ตั้งแต่เด็กจนถึงผู้สูงอายุ จึงเป็นกฎหมายที่คุ้มครองด้านสวัสดิการสังคมอย่างแท้จริง ดังนั้นในอนาคตประชาชนคนไทยไม่ว่ากลุ่มใด ก็จะได้รับความคุ้มครองด้านสวัสดิการอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกันมากขึ้น

แนวทางดำเนินการ
ประเทศไทยมีการประกันสิทธิและเสรีภาพของประชาชนตามหลักการด้านสิทธิมนุษยชนไว้ในรัฐธรรมนูญควบคู่กับแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐซึ่งเป็นการแสดงปณิธานของรัฐที่จะทำให้เกิดสิทธิและปกป้องคุ้มครองสิทธิที่ประกันไว้เหล่านั้นแก่ประชาชนอย่างมีผลเป็นรูปธรรม หลักการและนโยบายดังกล่าวมีการนำไปสู่การปฏิบัติจริงด้วยแนวทางดำเนินการดังนี้ 1) การวางแผนงานหลักและแผนยุทธศาสตร์รองรับหลักการด้านสิทธิมนุษยชนตามรัฐธรรมนูญ อย่างเป็นรูปธรรม คือ มีแผนแม่บทสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (2544-2548) และฉบับที่ 2 (2548) ซึ่งเป็นแผนยุทธศาสตร์ในความรับผิดชอบของสำนักนายกรัฐมนตรี และกระทรวงยุติธรรม (โดยกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ) ซึ่งใช้เป็นแนวทางในการพัฒนานโยบายและแผนแม่บทลงสู่แผนปฏิบัติการด้วยการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย รับช่วงด้วยแผนยุทธศาสตร์
การดำเนินงานของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (พ.ศ. 2545-2550) แผนแม่บทและแผนยุทธศาสตร์ดังกล่าวเป็นแนวทางที่กำหนดทิศทางและวิธีการดำเนินงานร่วมกันในระหว่างหน่วยงานไว้อย่างชัดเจนซึ่งได้มีการนำไปวางมาตรการและโครงการ/กิจกรรมในระดับปฏิบัติต่อมา
2) การกำหนดกลไกรองรับการดำเนินงานในทางปฏิบัติโดยมีหน่วยงาน/องค์กรภาครัฐเป็นหลักในการกำหนดนโยบาย ตรวจสอบและดำเนินงานแก้ไขปัญหา คุ้มครองเยียวยาผู้ถูกละเมิดสิทธิด้วยการทดแทนอย่างรวดเร็วและเป็นธรรม เช่น คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กระทรวงยุติธรรม (กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ) องค์กรอิสระอื่นๆตามรัฐธรรมนูญ และหน่วยงานรับผิดชอบสนธิสัญญาด้านสิทธิมนุษยชนต่างๆ เช่น สำนักงานอัยการสูงสุด กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงแรงงาน ฯลฯ เสริมด้วยองค์กรภาคเอกชน (NGOs) และสื่อมวลชนเป็นกลไกขับเคลื่อน ผลักดัน ตรวจสอบติดตามและรายงานสถานการณ์ต่อสาธารณชน เป็นการประสานพลังสำคัญที่สามารถผลักดันการดำเนินงานส่งเสริมคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของประเทศให้เกิดผลได้อย่างจริงจังและเข้มแข็ง
3) การปรับปรุงกระบวนการยุติธรรมและการบังคับใช้กฎหมายอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นแนวทางปฏิบัติสำคัญอีกประการหนึ่งซึ่งประเทศไทยกำลังเร่งรัดดำเนินการ
ดังปรากฏว่าตั้งแต่ทศวรรษ 1990 (พ.ศ. 2533) มีการปรับปรุงกระบวนการยุติธรรมโดยแยกกระทรวงยุติธรรมออกจากศาล ศาลเป็นผู้พิจารณาพิพากษาคดี และกระทรวงยุติธรรมเป็นผู้บริหารจัดการกระบวนการได้มีการพัฒนากฎหมายโดยแก้ไขปรับปรุงและออกกฎหมายใหม่เป็นจำนวนมากเพื่อรองรับหลักการด้านสิทธิมนุษยชน เพิ่มขยายพันธกิจโดยการเข้าเป็นภาคีของสนธิสัญญาด้านสิทธิมนุษยชนเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ (7 ฉบับจาก 9 ฉบับ) อย่างไรก็ตาม การบังคับใช้กฎหมายใหม่ต้องใช้เวลาในการพัฒนาเจตคติสร้างความรู้ความเข้าใจ ฝึกฝนอบรมทักษะแก่บุคลากรผู้ปฏิบัติงานทุกกลุ่มทุกระดับ รวมถึงการติดตามศึกษาผลเบื้องต้น ค้นหาอุปสรรคและความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติเพื่อปรับข้อบัญญัติให้เกิดผลสูงสุด ตลอดจนต้องมีการศึกษาวิจัยถึงความก้าวหน้าในการบังคับใช้กฎหมายใหม่ ๆ เหล่านี้โดยหน่วยงานที่รับผิดชอบและเกี่ยวข้องหลายฝ่าย เช่น การติดตาม
ผลการบังคับใช้ การปรับปรุงแก้ไขกฎหมายสัญชาติ ซึ่งปัจจุบันเป็นฉบับที่ 4 ประมวลกฎหมาย
วิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 20) เกี่ยวกับการสืบพยานเด็ก และปรับแก้ไขอีกรอบ (ฉบับที่ 26) กฎหมายคุ้มครองและพัฒนาเด็ก กฎหมายคุ้มครองแรงงาน ฯลฯ ดังนั้น ในการบังคับใช้กฎหมายให้มีประสิทธิภาพ ประเทศไทย จึงใช้แนวทางสร้างความรู้ความเข้าใจควบคู่กับการศึกษาติดตามและประเมินผลอย่างจริงจังเพื่อนำข้อมูลมาใช้พัฒนาข้อบัญญัติให้เป็นไปได้ในทางปฏิบัติอย่างแท้จริง ดังปรากฏมีกฎหมายบางฉบับที่ต้องแก้ไขปรับปรุงหลายรอบเพื่อให้บรรลุเป้าหมายและเจตนารมณ์ของเรื่องนั้นๆ
4) การส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคมเพื่อให้การส่งเสริมคุ้มครองสิทธิมนุษยชนเป็นไปอย่างกว้างขวาง เป็นแนวทางและภารกิจสำคัญยิ่งที่หน่วยงานรับผิดชอบหลัก เช่น คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กระทรวงยุติธรรม และหน่วยงานภาครัฐอื่น ๆ เร่งรัดดำเนินการอย่างจริงจังทั้งโดยตรงและผ่านเครือข่าย ทั้งในรูปคณะกรรมการและรูปแบบอื่น ๆ ประเทศไทยส่งเสริมเครือข่ายทุกรูปแบบทั้งเครือข่ายร่วมภาครัฐและเอกชน เครือข่ายภาคเอกชน เครือข่ายภาคประชาสังคม และเครือข่ายสื่อมวลชน ซึ่งเครือข่ายเหล่านี้เข้มแข็งอยู่แล้วการส่งเสริมจากภาครัฐทำให้เครือข่ายมีบทบาทเข้มแข็งและขยายออกไปอย่างกว้างขวางยิ่งขึ้นทั้งในประเด็นความสนใจและในพื้นที่ การสนับสนุนการสร้างอาสาสมัคร และส่งเสริมความเข้มแข็งขององค์กรชุมชน ทำให้เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมอย่างเป็นรูปธรรมและมีประสิทธิภาพ เช่น องค์กรภาคประชาสังคมเฝ้าระวังการค้ามนุษย์ในภาคเหนือตอนบน เครือข่ายด้านเด็ก ด้านสตรี ด้านชาติพันธุ์ สมัชชาชนเผ่า ฯลฯ ล้วนเป็นกระบวนการมีส่วนร่วมที่เป็นกำลังสำคัญในการปฏิบัติงานตามแนวทางและวิธีการที่ประเทศไทยให้ความสำคัญอย่างยิ่ง


SOME ABOUT HOW TO COMMUNITY RIGHT PROTECT...HOW WE CAN COACH OUR LEADERS IN FIELD TO REALIZE THIER RIGHT TO GET BETTER THING BY POWER OF PARTICIPATION AND EMPOWER..???
CDD BACKUP AND COACHING????


12. จากปัญหาและข้อร้องเรียนดังกล่าว รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันได้ขยายสิทธิชุมชน โดยการดำเนินโครงการหรือกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบอย่างรุนแรงต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมหรือทรัพยากรธรรมชาติ จะต้องจัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนผู้มีส่วนได้เสียก่อน และชุมชนมีสิทธิที่จะฟ้ององค์กรของรัฐเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายรับรองเรื่องสิทธิชุมชนไว้ (มาตรา 67) อันเป็นการขยายสิทธิประชาชนให้มีส่วนร่วมมากขึ้นในการดูแลทรัพยากรธรรมชาติ และประชาชนซึ่งอาจได้รับผลกระทบจากการดำเนินโครงการหรือกิจกรรมของรัฐสามารถแสดงความคิดเห็นเพื่อปกป้องสิทธิของตนได้ อีกทั้งกรณีที่การบังคับใช้กฎหมายอาจกระทบสิทธิหรือผลประโยชน์แก่ประชาชน เช่นต้องเวนคืนที่ดินหรือย้ายที่อยู่เพื่อสร้างเขื่อน ถนน หรือสาธารณูปโภคอื่น ๆ อันจำเป็น รัฐก็จะต้องจัดหาที่ดินเพื่ออยู่อาศัยหรือทำกินบริเวณใกล้เคียงให้ และต้องจ่ายค่าทดแทนอันเป็นธรรมและเสมอภาคภายในระยะเวลาอันควรให้แก่ประชาชนด้วย โดยการจ่ายค่าทดแทนคำนวณจากผลกระทบที่ประชาชนได้รับจากการเวนคืนทำให้ประชาชนได้รับค่าทดแทนที่เหมาะสมและเป็นธรรมยิ่งขึ้น (มาตรา 42)

13. ประเทศไทยได้รับรองสิทธิในการกำหนดเจตจำนงของตนเองแก่ประชาชนชาวไทยทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม รวมถึงการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างเสรีอย่างเท่าเทียมกัน อย่างไรก็ตามประเทศไทยเป็นประเทศซึ่งเป็นดินแดนที่ประกอบด้วยคนหลากหลายชาติพันธุ์มาอยู่อาศัยปะปนกัน แม้ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายตอบสนองโดยตรงต่อข้อบัญญัติด้านการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติ แต่มีโครงสร้างพื้นฐานทางสังคมและการเมืองการปกครองที่เอื้อต่อการตอบสนองตามว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ ประกอบกับลักษณะสังคมไทยเป็นสังคมที่ผสมผสาน ไม่มีการแบ่งแยก เหยียดผิวเผ่าพันธุ์หรือเชื้อชาติศาสนา ไม่มีกฎหมายที่มีลักษณะในทางแบ่งแยกหรือจำกัดสิทธิทางเชื้อชาติของประชาชนกลุ่มหนึ่งกลุ่มใดจนถึงขั้นก่อให้เกิดความขัดแย้งรุนแรงทางด้านเชื้อชาติ อีกทั้งโครงสร้างทางการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ก็มีกลไกและมาตรการทางด้านนิติบัญญัติ ตุลาการ และการบริหาร ตลอดจนมาตรการที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ที่เอื้อต่อความกลมเกลียวทางเชื้อชาติอยู่หลายประการ

14. กระนั้นยังคงพบว่าการรับรองและคุ้มครองสิทธิด้านเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมของชาวไทยเชื้อชายมุสลิมใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมถึงชนกลุ่มน้อย กลุ่มชาติพันธุ์ และประชากรต่างด้าวในประเทศไทยอาจไม่ได้รับการรับรองอย่างเต็มที่ ซึ่งประเทศไทยก็มิได้เพิกเฉยต่อความเดือดร้อนของชาวไทยเชื้อชายมุสลิมใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมถึงชนกลุ่มน้อย กลุ่มชาติพันธุ์ และประชากรต่างด้าวที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย โดยมีการดำเนินการในทางปฏิบัติเพื่อการส่งเสริมสัมพันธไมตรี สร้างความเข้าใจอันดีและความกลมเกลียวสมานฉันท์ โดยมีการส่งเสริมและการรณรงค์ด้วยโครงการต่างๆ ทั้งของภาครัฐภาคเอกชนและภาคประชาชน ด้วยแนวคิดเรื่องความมั่นคงของมนุษย์เป็นเป้าหมาย มีการทบทวนรื้อฟื้นและก่อตั้งองค์กรสร้างความสมานฉันท์ในกลุ่มชาติพันธุ์ขึ้นมาดำเนินการเรื่องนี้อย่างจริงจัง เช่น การรื้อฟื้นศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอบต.) เพื่อส่งเสริมการพัฒนาให้กับชาวไทยเชื้อสายมลายู การจัดตั้งศูนย์สงเคราะห์และพัฒนาชาวเขา, การจัดทำโครงการแก้ไขปัญหาและพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้จากสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่มีผลกระทบต่อการดำรงชีวิต ความเป็นอยู่ ความมั่นคงของครอบครัวและประชาชนในพื้นที่ของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ การจัดตั้งสถาบันยุทธศาสตร์สันติวิธีในสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ และความพยายามในการใช้ยุทธศาสตร์สันติวิธี และการเจรจาพูดคุยระหว่างกันมากขึ้น ตลอดจนปลูกฝังแนวคิดนี้ในหมู่เด็กและเยาวชนรุ่นใหม่อย่างจริงจัง ทั้งการจัดโครงการแลกเปลี่ยนเยาวชน และการจัดการศึกษาที่มุ่งสู่สังคมสมานฉันท์

SOMETIME REFUGEE MAKE OUR COMMUNITY LOW COMFORTABLE???TOUGH TO LIVE NEARLY TOGETHER???


17. ในด้านกระบวนการยุติธรรมประเทศไทยให้การรับรองบุคคลทุกกลุ่มชาติพันธุ์ในการได้รับสิทธิเท่าเทียมกันภายใต้ศาลและกระบวนการยุติธรรม ไม่ต้องรับโทษทางอาญาถ้ามิได้ทำผิดกฎหมาย จะไม่ถูกลงโทษหนักกว่าที่กฎหมายกำหนด จำเลยหรือผู้ต้องหาต้องได้รับการสันนิษฐานไว้ก่อนว่าไม่มีความผิด และจะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นเสมือนผู้กระทำผิดก่อนมีคำพิพากษาถึงที่สุดมิได้ ต้องได้รับการพิจารณาคดีอย่างเปิดเผยเป็นธรรม และได้รับความคุ้มครองช่วยเหลือที่เหมาะสมจากรัฐ ตลอดจนมีสิทธิร้องเรียนกรณีไม่ได้รับความเป็นธรรมต่างๆ โดยผู้รับบริการจำนวนหนึ่งเป็นบุคคลจากกลุ่มชาติพันธุ์จะได้รับความช่วยเหลือจากโครงการคลินิคยุติธรรมซึ่งได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพจัดทนายอาสาจากสภาทนายความมาช่วยให้คำปรึกษาด้านกฎหมาย นอกจากนี้ในแต่ละปี สภาทนายความและองค์การเอกชนอื่นๆ ได้ให้ความช่วยเหลือคดีเกี่ยวกับชนเผ่าและสัญชาติอยู่เป็นจำนวนมาก ตัวอย่างที่สำคัญคือการอำนวยความยุติธรรมกรณีผู้ตกสำรวจทางทะเบียนราษฎรที่อำเภอแม่อายและกรณีชนกลุ่มน้อยคนไทยเชื้อสายมลายู

18. แม้ปวงชนชาวไทยจะมีสิทธิและเสรีภาพในการโยกย้าย และการพำนักอาศัยภายในเขตแดนของรัฐอย่างเสรี แต่สำหรับกลุ่มบุคคลที่ได้รับอนุญาตเป็นกรณีพิเศษให้อยู่เป็นระยะเวลาชั่วคราวเช่น กลุ่มชาติพันธุ์บนที่สูงที่ยังไม่มีสถานะบุคคลในอดีต และกลุ่มชาติพันธุ์อื่นๆ ที่เข้าข่ายต้องถูกจำกัดพื้นที่ต้องขออนุญาตเมื่อจะออกนอกพื้นที่ แต่เมื่อได้สัญชาติไทยปัญหาก็จะหมดไป ทั้งนี้ประเทศไทยยังมีบุคคลที่ประสบปัญหาเรื่องสัญชาติและสถานะบุคคลอีกเป็นจำนวนมากที่รัฐกำลังเร่งแก้ไข

WUT ABOUT WELFARE ...AND GROUP CAREER FOR NEGOTIATE OF LABOUR BENEFIT...????
IT S TOUGH TO GET NICE BETTER INCOME AND SALARY FOR LABOUR AND CIVIL..???SO HOW BEST ECONOMIC OF CITIZEN STILL BE FIRST CHOISE????
REAL OR NOT OABOUT NO DISCRIMINATE IN THIS NATION????


30. สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งคือ ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ (CERD) โดยวิธีภาคยานุวัติเมื่อวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2546 ทำให้อนุสัญญานี้มีผลบังคับใช้กับประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 ทั้งนี้การลงนามเข้าเป็นภาคีของประเทศไทย มีถ้อยแถลงตีความที่จะไม่ใช้บทบัญญัติของอนุสัญญาเกินกว่ารัฐธรรมนูญและกฎหมายไทย และมีข้อสงวน 2 ข้อ คือข้อ 4 และข้อ 22 โดยข้อ 4 การจัดให้มีมาตรการเชิงบวกที่จะขจัดการกระตุ้นและการกระทำที่เลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติ จะกระทำเฉพาะเมื่อพิจารณาเห็นว่ามีความจำเป็นที่จะต้องออกเป็นกฎหมายเท่านั้น และข้อ 22 ไม่รับผูกพันเกี่ยวกับการตกลงข้อพิพาทระหว่างรัฐชาติ ที่จะเสนอต่อการพิจารณาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ โดยรายละเอียดการดำเนินงานของประเทศในการปฏิบัติตามอนุสัญญาดังกล่าว ปรากฏตามรายงานประเทศไทยตามพันธกรณีภายใต้อนุสัญญาดังกล่าว ซึ่งอยู่ระหว่างการจัดทำของกรมคุ้มครองสิทธิ กระทรวงยุติธรรม โดยคาดว่าจะสามารถเสนอต่อสหประชาชาติได้ภายในปี พ.ศ. 2552 นี้

31. อย่างไรก็ดี มีความเป็นไปได้ว่า ประชาชนบางกลุ่มอาจยังเข้าไม่ถึงการใช้สิทธิดำเนินการทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมอย่างเต็มที่ ทำให้เกิดกลุ่มด้อยโอกาสทางสังคมในการเข้าถึงบริการทางสาธารณสุข กลุ่มเด็ก เยาวชน ละผู้สูงอายุที่ขาดโอกาสทางสังคม เป็นต้น ดังนั้นกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดย มีสำนักส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส คนพิการ และผู้สูงอายุ (สท.) ได้ดำเนินโครงการต่างๆ ในการส่งเสริมพัฒนาและพิทักษ์สิทธิของกลุ่มผู้ด้อยโอกาสดังกล่าว และพัฒนาแนวทางการจัดสวัสดิการแก่ผู้ด้อยโอกาสในชุมชนขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาของผู้ด้อยโอกาสจากการเข้าไม่การใช้สิทธิเกี่ยวกับปัจจัยที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต รวมถึงการได้รับความคุ้มครองและได้รับสวัสดิการที่จำเป็นต่างๆ ด้วย

32. สำหรับกลุ่มคนเร่ร่อน คนไร้ที่พึ่ง หรือผู้ด้อยโอกาสเนื่องมาจากปัญหาด้านสุขภาพ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้ดำเนินการเพื่อช่วยเหลือกลุ่มบุคคลดังกล่าว โดยการจัดหาสถานสงเคราะห์ และที่พักชั่วคราวให้สำหรับผู้ติดเชื้อ ผู้ป่วย และผู้ได้รับผลกระทบจากโรคเอดส์ให้ได้รับการอุปการะในสถานสงเคราะห์ การให้ความช่วยเหลือทางด้านการเงินเบื้องต้น และเงินทุนประกอบอาชีพ อีกทั้งยังได้ดำเนินการจัดการประชุมสัมมนา อบรม ให้ความรู้กับเครือข่ายและกลุ่มเป้าหมายเพื่อส่งเสริมให้ผู้ด้อยโอกาสทราบถึงสิทธิประโยชน์ที่ตัวเองได้รับจากรัฐ ตลอดจนมีแผนจัดทำโครงการสร้างหลักประกันสวัสดิการสังคมเพื่อคนด้อยโอกาสในชุมชน ท้องถิ่นให้สอดรับกับนโยบายของแผนการบริหารราชการแผ่นดิน (พ.ศ. 2551-2554) เพื่อสร้างความมั่นคงของชีวิต และสังคมที่จะเสริมสร้างสวัสดิการทางสังคมแก่คนพิการและผู้ด้อย โอกาสอย่างเหมาะสมและเสริมสร้างความรู้ด้านอาชีพให้สตรีและคนพิการ ให้สามารถพึ่งพาตนเองได้ พร้อมกับวางกลยุทธ์ที่จะส่งเสริมความร่วมมือภาคีพัฒนาภาคส่วนต่างๆให้มีส่วนร่วมในการจัดสวัสดิการสังคมแก่ผู้อยู่ในภาวะยากลำบาก

33. สำหรับผู้ประกอบอาชีพที่มีรายได้ต่ำซึ่งอยู่ในระบบประกันสังคม รัฐบาลภายใต้การบริหารของ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี อภิสิทธ์ เวชชาชีวะ ได้ผลักดันโครงการสำคัญที่ช่วยและมีผลเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจไปในคราวเดียวกัน โดยเมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2552 คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติโครงการช่วยเหลือค่าครองชีพประชาชน และบุคลากรภาครัฐ (2000 บาท) หรือที่รู้จักกันว่า “เช็คช่วยชาติผ่าวิกฤติเศรษฐกิจโลก” โดยผู้มีสิทธิได้แก่ผู้มีสัญชาติไทยที่มีรายได้น้อยกว่า 15,000 บาทต่อเดือน โดยคาดว่าจะมีประชาชนในระบบประกันสังคมจำนวน 8,138,815 คน บุคคลากรภาครัฐ จำนวน 1,324,973 คน กลุ่มครู บุคลากรด้านการศึกษา และบุคลากรอื่นในโรงเรียนเอกชน 132,604 คน ซึ่งมีสิทธิได้รับเงินช่วยเหลือดังกล่าวในรูปเช็คเพื่อนำไปจับจ่ายใช้สอยและช่วยเหลือกลุ่มบุคคลผู้มีรายได้น้อยในสังคมอันเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยที่ผ่านมา ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ทั้งโรงแรม ร้านอาหาร ห้างสรรพสินค้าใหญ่ได้จัดโปรโมชั่นพิเศษเพื่อเพิ่มมูลค่าให้โครงการเช็คช่วยชาติด้วย




HOW ABOUT CAREER GROUP PROMOTION ARRANGE BY CDD WORKER IN FIELD...WE MAKE EAGER AND ENTRUSIASM FOR OUR LADY IN VILLAGE TO HAVE THIER OWN BUSINESS...BASIC BASE LINE OF SMALL LADY GROUP CAREER ARE FROM ORIGINAL LADY GROUP BY CDD WORKERCOACHING...RIGHT???
HOW DO WE SAFE OUR CAREER GROUP IN VILLAGE TO KEEP GROUP UNDER THIER RIGHT TO HAVE GROUP AND ENOUGH INCOME?????NO CAREER GROUP FAILUR UNDER BAD ECONOMIC????OR BAD MONEY MANAGEMENT???

CDD WORKER TRY TO HELP MANY LEADERS TO KEEP GROUP IN LOCAL AREA...MORE INCOME IN HOMETOWN...LOWER MIGRATION TO URBAN...RIGHT???
BUT CDD WORKER ONLY COACH AND HELP FOR KEEP GROUP...MANY OPTIONS TO KEEP NICE INCOME INSIDE VILLAGE...

68. แม้ว่ารัฐบาลจะปฏิบัติตามนโยบายการจัดหางานตามที่กล่าวมาแล้ว แต่ปัญหาการจัดหางานให้กับคนในชาติยังคงมีปรากฏในเรื่องใหญ่ๆ ได้แก่ การที่ประชาชนต้องย้ายถิ่นเพื่อเข้าไปทำงานในเมืองใหญ่เนื่องจากปริมาณงานอยู่ที่ในเมืองใหญ่มากกว่าในชนบท ซึ่งทำให้เกิดปัญหาทางสังคมเกี่ยวกับความเกี่ยวพันในครอบครัวตามมา คนงานส่วนใหญ่อยู่ในภาคเกษตรเมื่อเข้ามาหางานทำในเมืองใหญ่ซึ่งเป็นภาคอุตสาหกรรมจึงขาดความรู้และไม่มีทักษะฝีมือในการทำงาน ส่งผลให้ได้ค่าจ้างแรงงานน้อย อย่างไรก็ตาม รัฐบาลได้แก้ไขโดยให้สิ่งจูงใจให้โรงงานอุตสาหกรรมใหญ่ๆ เปิดในต่างจังหวัดเพื่อให้คนในพื้นที่มีงานทำโดยไม่ต้องจากบ้าน ซึ่งกระทำโดยการลดภาษีให้กับผู้ประกอบการ พร้อมกับการให้การศึกษาอบรมแรงงาน โดยกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน และโรงงานเอกชนต่างๆ ที่มีความพร้อม เพื่อให้สามารถยกระดับการทำงานของตนให้ดีขึ้น




LOOK LIKE WE HAVE LOW WELFARE FOR CDD????

90. ส่วนสวัสดิการแรงงานนอกเหนือจากที่กฎหมายกำหนดนั้น กองสวัสดิการแรงงานแนะนำเป็นทางเลือกสำหรับสถานประกอบกิจการจัดเพิ่มเติม ได้แก่ สวัสดิการที่ช่วยเหลือในเรื่องค่าครองชีพ (เช่นการส่งเสริมการศึกษา การจัดหอพัก การจัดรถรับ-ส่ง เงินโบนัส และเบี้ยขยัน เป็นต้น) สวัสดิการที่ช่วยเหลือการออมของลูกจ้าง (เช่น สหกรณ์ออมทรัพย์ และกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เป็นต้น) สวัสดิการที่พัฒนาสถาบันครอบครัวของลูกจ้าง (เช่น การจัดสถานเลี้ยงดูบุตรของลูกจ้าง การช่วยเหลือค่าเล่าเรียนบุตรของลูกจ้างและการประกันชีวิตของลูกจ้าง เป็นต้น) สวัสดิการที่ส่งเสริมความมั่นคงในอนาคต (เช่น เงินรางวัลทำงานมานานให้ลูกจ้างซื้อหุ้นของบริษัท และเงินกู้เพื่อสวัสดิการที่พักอาศัย เป็นต้น) และสวัสดิการนันทนาการและสุขภาพอนามัย (เช่น การแข่งขันกีฬา และการจัดทัศนศึกษา เป็นต้น)

ร่างรายงานการปฏิบัติตามพันธกรณีของประเทศไทย
ภายใต้กติการะหว่างประเทศ ว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม









เสนอต่อ
คณะกรรมการประจำอนุสัญญาระหว่างประเทศ
ว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมของสหประชาชาติ












จัดทำโดย
สำนักงานอัยการสูงสุด

สารบัญ


- บทนำ


- ส่วนที่ 1 ข้อมูลพื้นฐาน ในส่วนเอกสารหลักรายงานประเทศ (Core document)


- ส่วนที่ 2 การวิเคราะห์ผลการดำเนินการ การปฏิบัติตามพันธกรณีของประเทศไทยภายใต้กติการะหว่างประเทศ ว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม


- เชิงอรรถ


- สารบัญตาราง


- ภาคผนวก









เชิงอรรถ

1office of the Prime Minister, National Identity Board Thailand into The 2000’s Amarin Printing and Publishing Public Company Limited 2000 หน้า 1-28
2 มหาวิทยาลัยมหิดล สถาบันวิจัยประชากรและสังคม สารประชากร ปีที่ 15 มกราคม, ตุลาคม – พฤศจิกายน 2551
3 กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานสถิติแห่งชาติ ประมวลข้อมูลสถิติที่สำคัญของประเทศไทย พ.ศ. 2550 บริษัทเท็กซ์ แอนด์ เจอร์นัล พับลิเคชั่น จำกัด กรุงเทพ 2550 หน้า 8
4 สำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 พ.ศ. 2550-2554 ตุลาคม 2549
5 กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานสถิติแห่งชาติ เครื่องชี้สภาวะเศรษฐกิจไทย พ.ศ. 2550 บริษัทเท็กซ์ แอนด์ เจอร์นัล พับลิเคชั่น จำกัด กรุงเทพ 2550
6 กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานสถิติแห่งชาติ เครื่องชี้ภาวะสังคม พ.ศ. 2550 บริษัทจุดทอง จำกัด กรุงเทพ 2550 และคุณภาพชีวิตคนไทย ปี 2550 สถิติ:ตัวชี้วัดการขับเคลื่อนสังคม บริษัทพีเอลิฟวิง จำกัด กรุงเทพ 2551 หน้า 6-8, 11-25
7 กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สำนักงานกิจการสตรีและสถาบัน
ครอบครัว นโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาสถาบันครอบครัว พ.ศ. 2547–2556 องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก พ.ศ. 2547
8 คณะกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญ สภาร่างรัฐธรรมนูญ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร สาระสำคัญของร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่พร้อมตารางเปรียบเทียบกับรัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2540 ฉบับรับฟังความคิดเห็น องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์ กรุงเทพ 2550
9 สำนักนายกรัฐมนตรี สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี นโยบายและแผนปฏิบัติการแม่บทด้านสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ตุลาคม 2543
10 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ แผนยุทธศาสตร์การดำเนินงานของคณะ
กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2545-2550 (ISBN 974-90856-1-2)
11 สีน้อย เกษมสันต์ ณ อยุธยา คู่มือรายงานประเทศตามสนธิสัญญาระหว่างประเทศที่ประเทศไทยเป็นภาคี กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม พ.ศ. 2548
12 กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส คนพิการและผู้สูงอายุ (สท.) การป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ (ประเทศไทย) พ.ศ. 2548 พ.ศ. 2548
13 กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส คนพิการและผู้สูงอายุ (สท.) ร่างนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ระดับชาติ ด้านการพัฒนาเด็กตามแนวทาง “โลกที่เหมาะสมสำหรับเด็ก” (พ.ศ. 2550-2559) ธันวาคม 2549
14 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ อ้างแล้ว






















สารบัญตาราง

ตารางที่ 1 ประชากรของประเทศไทย พ.ศ. 2551
ตารางที่ 2 ข้อมูลด้านเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย ปี 2549
ตารางที่ 3 โครงสร้างครัวเรือน/สภาวะครอบครัวเปรียบเทียบ ปี 2533, 2543 และ 2546-2549
ตารางที่ 4 จำนวนคดีเด็กและเยาวชนที่ถูกดำเนินคดีโดยสถานพินิจ จำแนกตามระดับ
การศึกษา ปี 2547-2549
ตารางที่ 5 จำนวนผู้ป่วยเอดส์ จำแนกตามปัจจัยเสี่ยงและเพศ กันยายน 2547 – พฤษภาคม 2550
ตารางที่ 6 จำนวนและร้อยละของนักเรียนต่อประชากรในวัยเรียน จำแนกตามกลุ่มอายุและ
ระดับการศึกษา ปีการศึกษา 2547-2549 และงบประมาณ
ตารางที่ 7 แสดงสถานภาพการเข้าผูกพันต่อสนธิสัญญาหลักด้านสิทธิมนุษยชน 9 ฉบับ
ของประเทศไทย
ตารางที่ 8 แสดงภาระค่าใช้จ่ายในการให้บริการสุขภาพแก่ประชาชนต่างด้าวที่ไม่สามารถ เรียกเก็บได้
ตารางที่ 9 แสดงสถิติการถูกทำร้ายในเด็กและสตรีที่มารับบริการที่ศูนย์พึ่งได้ ตั้งแต่ปี
2547 - 2551
ตารางที่ 10 แสดงอัตราการเข้ารับบริการบำบัดรักษาของผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวชใน สถานบริการสาธารณสุข สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ปี 2545-2548
ตารางที่ 11 แสดงอัตราการเข้าถึงบริการของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่มารับบริการในสถานบริการ สาธารณสุข สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ปี 2545-2549
ตารางที่ 12 แสดงจำนวนบุคลากรทางการแพทย์ รพช. รพร. รายภาค ปี 2550
ตารางที่ 13 แสดงจำนวนสถานพยาบาลที่มีเตียงรับผู้ป่วยไว้ค้างคืน เตียง ผู้ป่วยนอกใหม่ (คน) ผู้ป่วยนอกทั้งหมด (ครั้ง)
ตารางที่ 14 แสดงจำนวนเตียง เตียงต่อประชากร แพทย์ต่อเตียง จำนวนผู้ป่วยนอกใหม่ (คน) จำนวนผู้ป่วยนอกทั้งหมด (ครั้ง) จำนวนผู้ป่วยใน วันอยู่ผู้ป่วยใน และอัตราการ ครองเตียง รพช. รพร. รายภาคปี 2550
ตารางที่ 15 แสดงจำนวนผู้ลงทะเบียนสิทธิหลักประกันสุขภาพแยกประเภทสิทธิ (มี.ค. 52)
ตารางที่ 16 แสดงครัวเรือนส่วนบุคคล จำแนกตามแหล่งที่มาของน้ำดื่ม น้ำใช้ และเขตการ ปกครอง ทั่วราชอาณาจักร พ.ศ. 2548
ตารางที่ 17 แสดงข้อมูลสถิติคดีในช่วงปี 2547-2551
ตารางที่ 18 แสดงอัตราค่าจ้างขั้นต่ำใหม่ ซึ่งได้ประกาศให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่
1 มิถุนายน 2551


สาระสำคัญ
กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมประกอบด้วย วรรคอารัมภบท และบทบัญญัติ 31 ข้อ แบ่งเป็น 5 ส่วน ดังนี้
วรรคอารัมภบท มีสาระคล้ายคลึงกับกติการะหว่าประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
1)
กล่าวถึงสิทธิในการกำหนดเจตจำนงของตนเอง (right of self-determination)
2)
กล่าว ถึงพันธกรณีของรัฐภาคีที่จะดำเนินมาตรการต่างๆ อย่างเหมาะสมตามลำดับขั้น นับตั้งแต่การเคารพ คุ้มครอง ส่งเสริม และทำให้เป็นจริง อย่างเต็มที่ตามที่ทรัพยากรมีอยู่เพื่อให้มีความคืบหน้า โดยไม่มีการเลือกปฏิบัติ ความเท่าเทียมกันระหว่างบุรุษและสตรีในการได้รับสิทธิ การจำกัดสิทธิตามกติกา รวมทั้งการห้ามตีความใดๆ ในกติกาที่จะทำลายสิทธิหรือเสรีภาพตามที่รับรองไว้ในกติกานี้
3)
กล่าว ถึงสาระของสิทธิ ได้แก่ สิทธิในการทำงานและมีเงื่อนไขการทำงานที่เหมาะสมเป็นธรรม สิทธิที่จะก่อตั้งสหภาพแรงงาน และสิทธิที่จะหยุดงาน สิทธิที่จะได้รับสวัสดิการและการประกันด้านสังคม การคุ้มครองและช่วยเหลือครอบครัว สิทธิที่จะมีมาตรฐานชีวิตที่ดีพอเพียง สิทธิที่จะมีสุขภาวะด้านกายและใจที่ดีที่สุดที่เป็นไปได้ สิทธิในการศึกษา สิทธิในวัฒนธรรมและประโยชน์จากความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์
4)
กล่าว ถึงพันธกรณีในการจัดทำรายงานของรัฐภาคี บทบาทของคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมในการตรวจสอบการปฏิบัติตามพันธกรณีร่วมกับ กลไกอื่นๆ ของสหประชาชาติ รวมทั้งการให้ข้อคิดเห็นต่างๆ เกี่ยวกับการปฏิบัติตามพันธกรณีของกติกา การดำเนินการของรัฐภาคีที่จะร่วมมือในระดับระหว่างประเทศในการส่งเสริมสิทธิ ตามกติกา การห้ามการตีความ บทบัญญัติเพื่อจำกัดหน้าที่ของกลไกสหประชาชาติที่กำหนดไว้ตามกฎบัตรและ ธรรมนูญขององค์กร รวมทั้งการไม่ตีความในทางที่จะจำกัดสิทธิในการใช้ประโยชน์จากทรัพยากร ธรรมชาติ
5)
กล่าวถึงการเข้าเป็นภาคี และการแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติของกติกา

วันที่มีผลบังคับใช้
สมัชชา ใหญ่สหประชาชาติได้รับรองกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2509 และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 3 มกราคม 2519

ถ้อยแถลงตีความ / ข้อสงวน
ประเทศ ไทยเข้าเป็นภาคีกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมโดยการภาคยานุวัติ เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2542 และมีผลใช้บังคับกับประเทศไทยเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2542 โดยได้ทำถ้อยแถลงตีความของข้อที่ 1 วรรค 1 เกี่ยวกับสิทธิในการกำหนดเจตจำนงของตนเอง (right to self-determination) เช่นเดียวกับกติการะหว่างประเทศว่าด้วย สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง โดยให้หมายความตามปฏิญญาและแผนปฏิบัติการเวียนนา ซึ่งเป็นผลของการประชุมระดับโลกว่าด้วยสิทธิมนุษยชนเมื่อปี พ.ศ. 2536 ว่า สิทธิดังกล่าวมิให้ตีความอนุญาตหรือสนับสนุนการกระทำใดๆ ที่จะเป็นการแบ่งแยก หรือทำลายบูรณภาพแห่งดินแดน หรือเอกภาพทางการเมืองของรัฐเอกราชอธิปไตย ทั้งนี้ ไม่ว่าทั้งหมดหรือเพียงแต่บางส่วน
กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ ฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (ฉบับภาษาอังกฤษ จากเว็บของ OHCHR)
กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ ฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (เอกสารเผยแพร่สำนักงานกสม.-pdf)
สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐ อาคารบี ชั้น 6-7
120 หมู่ที่ 3 ถนน แจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขต หลักสี่ กรุงเทพฯ 10210
โทรศัพท์ 0-2141-3800, 0-2141-3900 สายด่วนร้องเรียน 1377
E-mail ติดต่อทั่วไป : info@nhrc.or.th ; รับเรื่องร้องเรียน : help@nhrc.or.th ; ติชมเว็บไซต์/แลกลิ้งค์ : webmaster@nhrc.or.th
Best view by Microsoft Internet Explorer 6.0 with 800x600 screen resolution.

http://www.rlpd.moj.go.th/rlpd/index.php?option=com_content&task=view&id=335&Itemid=36


กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (International Coven
เขียนโดย Administrator
Tuesday, 12 February 2008
กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และ วัฒนธรรม (International Covenant on Economic, Social and Cultural Rights - ICESCR) กติกา ระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และ วัฒนธรรม (International Covenant on Economic, Social and Cultural Rights - ICESCR)

กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม

สาระสำคัญ
กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมประกอบด้วย วรรคอารัมภบท และบทบัญญัติ 31 ข้อ แบ่งเป็น 5 ส่วน ดังนี้
วรรคอารัมภบท มีสาระคล้ายคลึงกับกติการะหว่าประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง

1)


กล่าวถึงสิทธิในการกำหนดเจตจำนงของตนเอง (right of self-determination)

2)


กล่าว ถึงพันธกรณีของรัฐภาคีที่จะดำเนินมาตรการต่างๆ อย่างเหมาะสมตามลำดับขั้น นับตั้งแต่การเคารพ คุ้มครอง ส่งเสริม และทำให้เป็นจริง อย่างเต็มที่ตามที่ทรัพยากรมีอยู่เพื่อให้มีความคืบหน้า โดยไม่มีการเลือกปฏิบัติ ความเท่าเทียมกันระหว่างบุรุษและสตรีในการได้รับสิทธิ การจำกัดสิทธิตามกติกา รวมทั้งการห้ามตีความใดๆ ในกติกาที่จะทำลายสิทธิหรือเสรีภาพตามที่รับรองไว้ในกติกานี้

3)


กล่าว ถึงสาระของสิทธิ ได้แก่ สิทธิในการทำงานและมีเงื่อนไขการทำงานที่เหมาะสมเป็นธรรม สิทธิที่จะก่อตั้งสหภาพแรงงาน และสิทธิที่จะหยุดงาน สิทธิที่จะได้รับสวัสดิการและการประกันด้านสังคม การคุ้มครองและช่วยเหลือครอบครัว สิทธิที่จะมีมาตรฐานชีวิตที่ดีพอเพียง สิทธิที่จะมีสุขภาวะด้านกายและใจที่ดีที่สุดที่เป็นไปได้ สิทธิในการศึกษา สิทธิในวัฒนธรรมและประโยชน์จากความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์

4)


กล่าว ถึงพันธกรณีในการจัดทำรายงานของรัฐภาคี บทบาทของคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมในการตรวจสอบการปฏิบัติตามพันธกรณีร่วมกับ กลไกอื่นๆ ของสหประชาชาติ รวมทั้งการให้ข้อคิดเห็นต่างๆ เกี่ยวกับการปฏิบัติตามพันธกรณีของกติกา การดำเนินการของรัฐภาคีที่จะร่วมมือในระดับระหว่างประเทศในการส่งเสริมสิทธิ ตามกติกา การห้ามการตีความ บทบัญญัติเพื่อจำกัดหน้าที่ของกลไกสหประชาชาติที่กำหนดไว้ตามกฎบัตรและ ธรรมนูญขององค์กร รวมทั้งการไม่ตีความในทางที่จะจำกัดสิทธิในการใช้ประโยชน์จากทรัพยากร ธรรมชาติ

5)


กล่าวถึงการเข้าเป็นภาคี และการแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติของกติกา


วันที่มีผลบังคับใช้
สมัชชาใหญ่สหประชาชาติได้รับรองกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2509 และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 3 มกราคม 2519
ถ้อยแถลงตีความ / ข้อสงวน
ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมโดยการภาคยานุวัติ เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2542 และมีผลใช้บังคับกับประเทศไทยเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2542 โดยได้ทำถ้อยแถลงตีความของข้อที่ 1 วรรค 1 เกี่ยวกับสิทธิในการกำหนดเจตจำนงของตนเอง (right to self-determination) เช่นเดียวกับกติการะหว่างประเทศว่าด้วย สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง โดยให้หมายความตามปฏิญญาและแผนปฏิบัติการเวียนนา ซึ่งเป็นผลของการประชุมระดับโลกว่าด้วยสิทธิมนุษยชนเมื่อปี พ.ศ. 2536 ว่า สิทธิดังกล่าวมิให้ตีความอนุญาตหรือสนับสนุนการกระทำใดๆ ที่จะเป็นการแบ่งแยก หรือทำลายบูรณภาพแห่งดินแดน หรือเอกภาพทางการเมืองของรัฐเอกราชอธิปไตย ทั้งนี้ ไม่ว่าทั้งหมดหรือเพียงแต่บางส่วน

อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ

สาระสำคัญ
อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบประกอบด้วย วรรคอารัมภบท และบทบัญญัติ 25 ข้อ ซึ่งแบ่งเป็น 3 ส่วน ดังนี้

1)


กล่าว ถึงคำจำกัดความ “การเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติ” ว่าหมายถึงการจำแนก การกีดกัน การจำกัด หรือการเอื้ออำนวยพิเศษ เพราะเชื้อชาติ สีผิว เชื้อสาย หรือชาติกำเนิด หรือเผ่าพันธุ์ โดยไม่รวมถึงการปฏิบัติที่แตกต่างระหว่างบุคคลที่เป็นพลเมืองและไม่ใช่ พลเมือง นโยบายของรัฐภาคีและการดำเนินมาตรการเพื่อขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติ ในทุกรูปแบบ เช่น การห้ามการโฆษณาชวนเชื่อ การประกันสิทธิประกันสิทธิอันเท่าเทียมกันของบุคคลภายใต้กฎหมาย ทั้งในด้านสิทธิพลเมือง สิทธิทางการเมือง สิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม การเยียวยาเมื่อถูกละเมิด การให้ความสำคัญด้านมาตรการในการศึกษา วัฒนธรรรม และข้อมูลเพื่อขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติ

2)


กล่าว ถึงคณะกรรมการการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติ และการจัดทำ รายงานของรัฐภาคี การปฏิบัติงานและการรับเรื่องร้องเรียนของคณะกรรมการ

3)


กล่าวถึงกระบวนการเข้าเป็นภาคี และการแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติของอนุสัญญา

วันที่มีผลบังคับใช้
สมัชชาใหญ่สหประชาชาติได้รับรองอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทาง เชื้อชาติในทุกรูปแบบ เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2508 และมีผลใช้บังคับใช้ในวันที่ 4 มกราคม 2532

ถ้อยแถลงตีความ / ข้อสงวน
ประเทศไทยได้ภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุก รูปแบบ โดยการภาคยานุวัติเมื่อวันที่ 28 มกราคม 2546 และมีผลใช้บังคับกับประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2546 โดยในการเข้าเป็นภาคี ได้ทำถ้อยแถลงตีความทั่วไปว่า รัฐบาลไทยจะไม่ตีความหรือใช้บทบัญญัติใดๆ ที่ปรากฏในอนุสัญญาเป็นพันธกรณีที่เกินกว่ารัฐธรรมนูญแห่งราช-อาณาจักรไทย และกฎหมายภายในได้บัญญัติไว้ และการตีความหรือใช้บทบัญญัติดังกล่าวจะจำกัดหรือเป็นไปตามตราสารด้านสิทธิ มนุษยชนระหว่างประเทศอื่นที่ไทยเป็นภาคี นอกจากนี้ ยังได้ตั้งข้อสงวนเป็นการเฉพาะไว้อีก 2 ข้อ ได้แก่
ข้อ 4 ซึ่งรัฐบาลไทยตีความว่า ข้อบทดังกล่าวที่ให้รัฐภาคีดำเนินมาตรการเชิงบวกในการขจัดการกระตุ้นหรือการ เลือกปฏิบัติตามที่ระบุในข้อ 4 (ก) (ข) (ค) ก็ต่อเมื่อพิจารณาเห็นว่ามีความจำเป็นที่จะต้องออกเป็นกฎหมายเท่านั้น
ข้อ 22 ว่าด้วยกรณีเกิดข้อพิพาทระหว่างรัฐภาคีโดยไม่สามารถเจรจาตกลงด้วยวิธีการ อื่นใด และรัฐคู่กรณีเสนอให้ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศพิจารณา

**************
http://202.129.34.51/support1/www/swaddikarn/%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%8D%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A9%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%99.htm

Rolf Künnemann ¤ October 2001
Related themes: Evolution of the role of the state ¤ International institutions ¤ Rights ¤ Social and economic policies ¤ Sustainable development
Translations: français . Español .
While investigating the extraterritorial scope of the International Covenant on Economic, Social and Cultural Rights (ICESCR), this paper introduces the threefold classification of internal, external, and international obligations applicable to all Human Rights treaties. Moreover, it emphasizes that most Intergovernmental organizations (IGOs) are duty-bound under Human Rights treaties and suggests steps to operationalize the related obligations of states. This paper looks at some relevant articles of the ICESCR, its interpretation, the nature of extraterritorial obligations, and offers some remarks and proposals.

The International Covenant on Economic, Social and Cultural Rights is perhaps the most violated international treaty of all. This includes both internal, external, and international obligations. For the victims, and for all of us as fellow human beings whose rights have been recognized in the Covenant, it offers an important point of departure toward a new world order where our economic, social, and cultural rights are realized. Such a realization requires a Human Rights accountability of international institutions and external business activities. For this to happen, the extraterritorial scope of the ICESCR must be allowed to bear fruits. The political challenge is there.

The paper first looks at some relevant articles of the ICESCR and considers the interpretative work of the Committee on Economic, Social and Cultural Rights. It then draws some conclusions on the nature of the different types of extraterritorial obligations. It makes some concluding remarks along with recommendations for next steps.

The ICESCR offers a wide extraterritorial scope, which has been largely under-utilized. The Covenant was conceived as a centerpiece for a new world order in the aftermath of a devastating war - a world based on universal rights and global cooperation. Today, almost 60 years later, this new world order is still far from being achieved. One of the reasons might very well be the failure to fully utilize the extraterritorial scope of the International Bill of Human Rights.

One of the main tasks of the new century will be the transition to sustainability: this will mean drastic changes both in the North and in the South: population growth will have to come to an end. The same is true for a contradictory economic paradigm based on the endless destruction of finite natural resources. The paradigm of aggressive growth - aggressive towards Nature, including our fellow human beings, ourselves, and our children - will have to be replaced by a culture of peaceful and regulated sharing.

The extraterritorial scope of the ICESCR provides an opportunity for state parties to meet these global challenges of the twenty-first century. The first step will be to start operationalizing extraterritorial obligations. They entail institutional consequences - for example the reform of the United Nations Organization.

Source: FIAN
www.fian.org
- - - Documents

The Extraterritorial Scope of the International Covenant on Economic, Social and Cultural Rights (ICESCR)
EN 20p.


http://www.world-governance.org/spip.php?article48

Fifth periodic report under the international covenant on economic, social and cultural rights

Date: 27 July 2007
logo

This is the fifth periodic report to the United Nations under the international covenant on economic, social and cultural rights (ICESCR).

The report covers the United Kingdom, the Crown Dependencies and the British Overseas Territories. The Government ratified the ICESCR in 1976 and agreed to provide periodic reports to the United Nations on the progressive realisation of the rights contained in the covenant.


* ICESCR report: full document (PDF 1.63mb 537 pages)
* ICESCR report: part 1 (PDF 0.80mb 143 pages)
* ICESCR report: part 2 (PDF 0.40mb 62 pages)
* ICESCR report: part 3 (PDF 0.25mb 57 pages)
* ICESCR report: part 4 (PDF 0.19mb 26 pages)
* ICESCR report: part 5 (PDF 0.26mb 48 pages)
* ICESCR report: part 6 (PDF 0.29mb 61 pages)
* ICESCR report: part 7 (PDF 0.10mb 4 pages)
* ICESCR report: part 8 (PDF 0.17mb 33 pages)
* ICESCR report: part 9 (PDF 0.30mb 7 pages)
* ICESCR report: part 10 (PDF 0.12mb 33 pages)
* ICESCR report: part 11 (PDF 0.24mb 12 pages)
* ICESCR report: part 12 (PDF 0.16mb 32 pages)
* ICESCR report: part 13 (PDF 0.43mb 16 pages)

PDF Help

* Get adobe reader
* Adobe PDF conversion tool
* Adobe accessibility help

* Site map
* Help
* © Crown copyright

A boost to protecting economic, social and cultural rights

A new complaint procedure will allow individuals to seek justice at the international level for violations of their economic, social and cultural rights.

United Nations General Assembly adopted the Optional Protocol to the International Covenant on Economic, Social and Cultural Rights on 10 December, 2008. © UN Photo/Marco CastroThe breakthrough came on Human Rights Day 2008, when the United Nations General Assembly adopted the Optional Protocol to the International Covenant on Economic, Social and Cultural Rights (ICESCR).

In his opening address to the current session of the Committee, Bacre Ndiaye, Director of the Human Rights Council and Treaty Body Division of the Office of the High Commissioner for Human Rights, said the Office would spare no efforts to promote ratification of the Optional Protocol and prepare for its entry into force.

A special event will take place during the General Assembly session in New York UN headquarters this September, when the Optional Protocol will be open for ratification. It will enter into force once it has been ratified by ten state parties to the ICESCR.

Under the Optional Protocol, individuals will be able to complain to the Committee on Economic, Social and Cultural Rights about violations of rights guaranteed in the ICESCR, such as the rights to health, food, water and adequate housing.

A similar individual complaint procedure already exists for other international human rights treaties in the areas of civil and political rights, women’s rights, racial discrimination, the rights of disabled persons, and prohibition against torture.

High Commissioner of Human Rights Navi Pillay called the Optional Protocol “a veritable milestone in the history of universal human rights” because it closed “a historic gap in human rights protection under the international system.

She added that the Optional Protocol made “a strong and unequivocal statement about the equal value and importance of all human rights and the need for strengthened legal protection of economic, social and cultural rights.”

“It will move us closer to the unified vision of human rights in the Universal Declaration. Importantly, it will enable victims to seek justice for violations of their economic, social and cultural rights at the international level for the first time,” Pillay told the General Assembly when it adopted the Optional Protocol on 10 December 2008.

"The symbol of the adoption day, the 60th anniversary of the Universal Declaration of Human Rights, implies a very positive future for this instrument," said Philippe Texier, who chaired the Committee on Economic, Social and Cultural Rights when the Optional Protocol was adopted.

He pointed out that the Optional Protocol was “the outcome of a long battle” involving governments, experts, non-governmental organizations, individuals and human rights activists. Its “concrete implementation”, he said, “will require notably an educational process.”

“Individuals that believe their rights have been violated will have to learn how to use effectively the new Protocol, after exhausting domestic remedies,” Texier said, meaning that a victim will have to first seek redress within a domestic legal system before complaining to the Committee.

“States will need to become familiar in responding to potential challenges to their practices, policies and legislation applied to individuals and be ready to improve them when required under the Covenant," he added.

5 May 2009

No comments:

Mountain of mine

bossss

on follow..

bosses

power feminine..

power feminine..
great..

ad