ปัญหาที่ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำเป็นปัญหาที่หลายรัฐบาลพยายามแก้ปัญหามาอย่างต่อเนื่อง ความไม่เป็นธรรมและความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจอาจมีเป็นผลมาจากโอกาสที่ไม่เท่าเทียมกันทางการศึกษา โอกาสที่ไม่เท่าเทียมกันในการเข้าถึงแหล่งทุน โอกาสที่ไม่เท่าเทียมกันในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร โอกาสที่ไม่เท่าเทียมกันในการต่อสู้ป้องกันสิทธิตามกระบวนการยุติธรรม โอกาสที่ไม่เท่าเทียมกันในการต่อรองหรือรวมตัวกัน เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของตนทั้งทางด้านการบริโภคและการผลิต การทุจริตและคอรัปชั่นของเจ้าหน้าที่ของรัฐ จะทำให้การแข่งขันสูญหายไป การจัดสรรทรัพยากรจะถูกบิดเบือนไปหมดเพราะการติดสินบนเจ้าหน้าที่ การกระจุกตัวของธุรกิจและอุตสาหกรรมในเมืองใหญ่ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางโอกาส และนำไปสู่ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจการกระจุกตัวในอุตสาหกรรมบางกลุ่ม เช่นอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับการส่งออกทำให้ทรัพยากรของชาติส่วนใหญ่ไปกระจุกตัวอยู่กับภาคการ - See more at: http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/635822#sthash.6bLyDsMZ.dpuf
http://bit.ly/1jXX992
http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/635844
http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/635822
สยาม * "สมคิด" แจงไม่ประมาทออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ยอมรับไม่หวังช่วยกระตุ้นจีดีพีโตสวนกระแสโลก แค่หวังยับยั้งการชะลอตัวเศรษฐกิจ พร้อมประกาศสนใจเข้าร่วม TPP แต่ยังมีเวลาศึกษาข้อดีข้อเสีย รมว.คลังเผยมีแนวคิดลดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยในการเสวนา หัวข้อ Post Forum 2015 "Rebuilding The Thai Economy : Meet The Economic Team ร่วมสร้างเศรษฐกิจไทย พูดคุยกับทีมเศรษฐกิจใหม่"ในงานโพสต์ฟอรั่ม 2015 ว่า หลังจากนี้ไปจะเห็นการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลลดน้อยลง เพราะเชื่อว่ามาตรการที่ออกมาก่อนหน้านี้จะเพียงพอต่อการประคองเศรษฐกิจในช่วงที่ยากลำบากนี้ได้ แต่ทั้งนี้ ยืนยันว่าจะไม่ประมาท หากเห็นว่าเศรษฐกิจมีความจำเป็น ก็อาจมีการออกมาตรการออกมาได้ และยืนยันว่าที่ผ่านมาการออกมาตรการนั้นไม่ได้มุ่งหวังในการสร้างให้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) เติบโตสวนกระแสโลก แต่สิ่งที่ต้องการทำคือ เพื่อยับยั้งการชะลอตัวของเศรษฐกิจ
http://www.ryt9.com/s/tpd/2275447
อ่านต่อได้ที่ : http://www.ryt9.com/s/tpd/2275447
ส่วนเรื่องเกี่ยวกับ “ประชานิยม” นั้นมีการศึกษาไว้มากพอสมควร งานที่มีชื่อเสียง คือ งานของ Dornbusch
บทความเรื่อง “Macroeconomics Populism” เขียนโดย Rudiger Dornbusch และ Sebastian Edwards (Journal of Development Economics 32, (1990), pp.247-277, North-Holland) ได้วิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการใช้นโยบายประชานิยมเพื่อแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำ (และเพื่อหวังผลทางการเมือง)ว่า นโยบายประชานิยมสามารถนำมาใช้ร่วมกับนโยบายเศรษฐกิจมหภาคได้โดยไม่นำประเทศไปสู่ความหายนะ หากนโยบายประชานิยมนั้นไม่ทำลายกรอบนโยบายหลักของเศรษฐกิจภาค ซึ่งพอสรุปได้ดังนี้
1) นโยบายประชานิยมที่ดีจะต้องไม่ทำลายกรอบของนโยบายเศรษฐกิจมหภาค ซึ่งประกอบด้วย
กรอบเป้าหมายความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ กรอบเป้าหมายความมีเสถียรภาพ อันได้แก่
- เป้าหมายอัตราเงินเฟ้อ (Inflation Targeting)
- เสถียรภาพของอัตราแลกเปลี่ยนระดับเงินสำรองเงินตราต่างประเทศและการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ
- เพดานหนี้สาธารณะ
- การกู้ยืมของภาคเอกชน ทั้งจากภายในและต่างประเทศ
- เพดานการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดเป็นต้น
2) โครงการประชานิยมต้องไม่สร้างความขัดแย้งใหม่ให้เกิดขึ้นระหว่างผู้เสียประโยชน์และผู้รับประโยชน์ นั่นคือควรจะเป็นลักษณะ win-win
3) โครงการประชานิยมไม่ควรทำให้เกิดการบิดเบือนทรัพยากรมากเกินไปนั่นคือไม่ควรฝืนกลไกตลาดโดยเฉพาะกลไกราคาซึ่งในทางเศรษฐศาสตร์ถือว่ากลไกราคาเป็นกลไกที่ทำให้เกิดการจัดสรรทรัพยากรที่มีประสิทธิภาพสูงสุด
4) โครงการประชานิยมไม่ควรจัดให้มีผลประโยชน์แก่ผู้รับมากเกินไปจนผู้รับประโยชน์เกิดความเกียจคร้าน หรือกล้าเสี่ยงมากเกินไปและไม่เตรียมภูมิคุ้มกันสำหรับตนเอง (เช่น การออมเงิน การรักษาสุขภาพการฝึกฝนหาความรู้ความชำนาญ) เนื่องจากฝากอนาคตไว้กับภาครัฐทั้งหมด (ในทางทฤษฎีเศรษฐศาสตร์เรียกว่าเป็นกรณีอันตรายจากการมีประกันของรัฐบาล หรือ Moral Hazard of Government Insurance ซึ่งจะมีผลทางลบต่อสังคมโดยรวมดังนั้นการค้ำประกันใดๆจึงไม่ควรค้ำประกันแบบ 100% แต่ควรให้ผู้เอาประโยชน์จากการประกันร่วมรับผิดชอบด้วย
5) โครงการประชานิยมควรใช้มาตรการที่ใช้แรงจูงใจ (Incentives) เพื่อกระตุ้นให้มีผู้มาเข้าร่วมโครงการ ไม่ใช่เป็นการบังคับ (เช่นการให้ผลประโยชน์โดยการประหยัดภาษีสำหรับเงินสมทบเข้ากองทุนเพื่อการประชานิยม ตามความสมัครใจ)การใช้กลไกแรงจูงใจนี้จะไม่ทำลายกลไกตลาด
การใช้นโยบายประชานิยมอย่างไม่ระมัดระวังจะนำไปสู่วิกฤตเศรษฐกิจ
หากมีการใช้นโยบายประชานิยมอย่างไม่ระมัดระวังจนเกินเลยไปทำลายกรอบนโยบายเศรษฐกิจมหภาค ผลที่ตามมาจะเป็นวงจรอุบาทว์ (Vicious Circle) ซึ่งจะฉุดดึงให้ระบบเศรษฐกิจโดยรวมจมดิ่งไปสู่หายนะอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้วงจรอุบาทว์จะมีลักษณะดังนี้เริ่มต้นจากการขาดดุลงบประมาณภาครัฐโดยการที่รัฐต้องกู้ยืมเพื่อนำเงินมาใช้จ่ายในโครงการประชานิยม แล้วประชาชนก็จะใช้จ่ายเกินตัวเนื่องจากการสนับสนุนของรัฐบาล เกิดการขาดดุลการค้าระหว่างประเทศ(บัญชีเดินสะพัด)เนื่องจากทั้งภาครัฐและภาคเอกชนใช้จ่ายบริโภคมากกว่าที่ตนผลิตได้จึงต้องนำสินค้าเข้าจากต่างประเทศเพื่อสนองการบริโภคที่เกินตัว ต้องกู้เงินจากต่างประเทศเข้ามาเพื่อใช้จ่ายในการนำเข้าสินค้าเพื่อการบริโภคที่เกินตัว การขาดดุลทั้งสามภาคส่วน (ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคการค้าระหว่างประเทศ)จะสะสมและเพิ่มปริมาณจนมีขนาดทำให้ระบบเศรษฐกิจแกว่งตัวหลุดจากดุลยภาพจนเกิด วิกฤตการเงินเช่นที่เคยเกิดมาแล้วในกรณีวิกฤตหนี้สาธารณะของประเทศแถบลาตินอเมริกาในช่วงปี 2530s วิกฤตต้มยำกุ้งปี 2540 วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ปี2551-2 วิกฤตหนี้สาธารณะของกรีซปี 2552-ปัจจุบัน
โครงการประชานิยมจะทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างผู้เสียประโยชน์ (ผู้เสียภาษี)กับผู้รับประโยชน์ โดยผู้เสียประโยชน์จะต่อต้านโดยลดการผลิตลงทำให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมลดลง ภาษีที่รัฐจัดเก็บได้จะลดลงตามไปด้วยทำให้รัฐบาลต้องกู้ยืมมากขึ้น ประชาชนผู้รับประโยชน์จะรอรับความช่วยเหลือจากรัฐและทำงานน้อยลงเนื่องจากไม่ทำงานก็ไม่เป็นไร รอรับผลประโยชน์ฟรีจากรัฐได้ เป็นผลให้ผลผลิตโดยรวมของชาติลดลง อัตราการขยายทางเศรษฐกิจในระยะยาวจะเติบโตต่ำ รัฐบาลต้องเพิ่มผลประโยชน์ตามโครงการประชานิยมขึ้นไปเรื่อยๆเพื่อคงไว้ (หรือเพิ่ม)ฐานคะแนนเสียงของพรรคการเมืองที่ตนสังกัดในขณะที่ประชาชนก็จะอ่อนแอลง ผลผลิตลดลง ภาษีที่จัดเก็บได้ก็ลดลงรัฐบาลจึงไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากกู้ยืมเงินจากทั้งภายในและนอกประเทศเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โครงการประชานิยมทำให้มีการจัดสรรทรัพยากรใหม่ โดยการโอนทรัพยากรจากหน่วยผลิตที่มีประสิทธิภาพไปสู่หน่วยบริโภคทำให้การบริโภคโดยรวมเพิ่มขึ้น แต่การลงทุนโดยรวมลดลง(เนื่องจากเงินออมลดลง)ซึ่งจะทำให้การผลิตในอนาคตลดลงทำให้การจัดสรรทรัพยากรด้อยประสิทธิภาพลงกว่าสถานะเดิม และอาจนำไปสู่ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำหรือวิกฤตเศรษฐกิจในที่สุด
การก้าวข้ามพ้นประชานิยมแบบละตินอเมริกาจึงไม่ใช่เรื่องง่าย หากประชาชนเสพติดประชานิยมแล้ว ส่วนประชานิยมที่ดีๆก็มีมาก นโยบายพวกนี้ควรได้รับการสนับสนุนให้ดำเนินการต่อไปเพื่อประโยชน์ของประชาชนรากหญ้าหรือฐานราก
----------------------
บรรณานุกรม
อนุสรณ์ ธรรมใจวรรณกิตติ์ วรรณศิลป์ และคณะ บทวิเคราะห์ ประชานิยม ประชาวิวัฒน์: ผลต่อความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจและฐานะทางการคลัง คณะเศรษฐศาสตร์ และ ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจเพื่อการปฏิรูป พ.ศ. 2554
อนุสรณ์ ธรรมใจ. ปรีดี พนมยงค์ รัฐบุรุษผู้อภิวัฒน์. (กรุงเทพฯ : กรุงเทพธุรกิจ Bizbook), 2552.
อนุสรณ์ ธรรมใจ. ฝ่าพายุเศรษฐกิจ วิกฤติไทย วิกฤติโลก. (กรุงเทพฯ : ฐานบุ๊คส์), 2551.
ไสว บุญมา. ประชานิยม : หายนะจากอาร์เจนตินาถึงไทย. (กรุงเทพฯ : เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป), 2546.
อเนก เหล่าธรรมทัศน์. ทักษิณา-ประชานิยม. (กรุงเทพฯ : มติชน), 2549.
โกวิท วงศ์สุรวัฒน์. ขบวนการประชานิยมในสหรัฐอเมริกา. (กรุงเทพฯ : วารสารคุณภาพชีวิตกับกับกฎหมาย ปีที่ 3 ฉบับที่ 1)
Ronald J. Daniels and Michael J. Trebilcock. Tethinking The Welfare State : The Prospects for Government by Voucher. (USA : Routledge). 2005.
Demetrius Iatridis. Social Policy : Institutional Context of Social Development and Human Services. (California : Pacific Grove), 1994.
Peter Leonard. Postmodern Welfare : Reconstructing an Emancipatory Project. (London : Redwood Books), 1997
Bojan Bugaric. Populism, liberal democracy, and the rule of law in Central and Eastern Europe. (Slovenia : Communist and Post-Communist Studies). 2008.
Barrie Axford, Richard Huggins. Anti-politics or the triumph of postmodern populism in promotional cultures?. (Oxford: Telematics and Informatics). 1998.
Rudiger Dornbusch andSebastian Edwards; “Macroeconomics Populism” ; Journal of Development Economics 32, (1990), pp.247-277, North-Holland.
UNDP; “Human Development Report”; February 3, 2008.
- See more at: http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/635822#sthash.6bLyDsMZ.dpuf
No comments:
Post a Comment